ReutersReuters

CGTN: ขาขึ้น: มาเก๊าขึ้นสู่ระดับใหม่ในการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ

CGTN ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับวิธีที่มาเก๊าส่งเสริมความหลากหลายทางเศรษฐกิจในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา

กรุงปักกิ่ง, Dec. 12, 2024 (GLOBE NEWSWIRE) — Hui Ho-Kit นักศึกษาปริญญาตรีที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาในรัฐแคลิฟอร์เนีย แล้วเดินทางกลับสู่บ้านเกิดในเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (SAR) ด้วยพันธกิจใหม่ที่จะนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัยที่สุดจากจีนแผ่นดินใหญ่มาใช้ในเมืองมาเก๊าแห่งนี้ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและโอกาสที่ได้จากเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) เขาสามารถก่อตั้งธุรกิจของตนและดึงเอาระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตของภูมิภาคออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์

สภาพแวดล้อมของการเป็นผู้ประกอบการในเขต GBA นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะ Hui กล่าวว่า "แต่ละเมืองต่างก็ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตน – มาเก๊ามีทรัพยากรเกี่ยวกับโปรตุเกส ฮ่องกงมีจุดแข็งในด้านการเงิน และเซินเจิ้นเป็นผู้นำในระบบการผลิตอัจฉริยะ (พวกเขา) ทำงานร่วมกันได้ใกล้ชิดและสะดวกมาก"

เรื่องราวของเขาเน้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในมาเก๊า ที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาธุรกิจคาสิโนเพียงอย่างเดียว และในปัจจุบันนี้เริ่มเปิดรับและส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

เมืองมาเก๊าได้พลิกโฉมไปอย่างมากนับแต่กลับคืนสู่จีนในปี 1999 ในอดีตเป็นที่รู้จักกันดีในด้านคาสิโนและการท่องเที่ยว มาเก๊าได้หันมาเน้นการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เขต GBA มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยช่วยให้มาเก๊ามีเครื่องมือที่จะพัฒนาภาคธุรกิจในหลากหลายด้าน เช่น เทคโนโลยี การเงิน และวัฒนธรรม วันนี้ จากการผสานรวมสู่กรอบภูมิภาคที่กว้างขึ้น มาเก๊าไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางการท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังได้ขยายไปสู่ศูนย์กลางทางนวัตกรรม

ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลของเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (SAR) ได้ประกาศแผนการพัฒนาสำหรับเมืองมาเก๊าในการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2024 ถึง 2028 แผนฉบับนี้อธิบายถึงการวางแผนและการเตรียมการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสันทนาการ การแพทย์แผนจีนและสุขภาพ เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีขั้นสูง การจัดประชุมนานาชาติและงานแสดงสินค้า รวมทั้งวัฒนธรรมและกีฬา

แผนดังกล่าวยังสอดคล้องกันกับแนวโน้มการเติบโตที่มุ่งเน้นบทบาทของเมืองมาเก๊าในการขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รายได้จากความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม และจำนวนโครงการสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในสถาบันอุดมศึกษาของมาเก๊ายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีที่แล้ว รายได้จากความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมสูงถึงประมาณ 475 ล้านปาตาการ์ (ประมาณ $59.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สิทธิบัตรการประดิษฐ์มากกว่า 340 ฉบับได้รับการจดทะเบียนระหว่างปี 2019 ถึงกันยายน 2024 มาเก๊ายังมีการดำเนินการอย่างแข็งขันให้สอดคล้องกันกับความมุ่งมั่นในการขยายการสำรวจอวกาศให้มากขึ้นของจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย โดยได้ส่งดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ดวงแรกของตนขึ้นสู่วงโคจรที่ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิวฉวนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของกลยุทธ์การสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจของมาเก๊าคือการเข้าร่วมในการส่งเสริมงานอีเวนท์ขนาดใหญ่ เช่น งานประกวดดอกไม้ไฟนานาชาติ เทศกาลดนตรีนานาชาติ การแข่งขันกรังด์ปรีซ์ งานอีเวนท์เหล่านี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปี มีส่วนช่วยในการสูบฉีดเติมพลังใหม่ ๆ เข้าสู่เศรษฐกิจของมาเก๊าและลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมหลักดั้งเดิมของมาเก๊า เช่น ธุรกิจคาสิโน โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชื่อเสียงของมาเก๊าในฐานะที่เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นอีกแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังเศรษฐกิจของมาเก๊าที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การจัดตั้งเขตความร่วมมือกวางตุ้ง-มาเก๊า ในเขตเหิงฉิน เมืองจูไห่ที่อยู่ทางใต้ของจีน ได้ปรับปรุงการเดินทางระหว่างมาเก๊ากับเมืองใกล้เคียง เช่น จูไห่ ให้สะดวกขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม ท่าเรือกงเป่ย ด่านข้ามแดนระหว่างจูไห่กับมาเก๊าที่มีคนเยอะมากที่สุด มีผู้ใช้บริการข้ามแดนกว่า 90 ล้านคน เฉลี่ยแล้วมากกว่า 300,000 คนต่อวัน การเดินทางของผู้คน สินค้าและบริการจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้รอยต่อนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบทบาทของมาเก๊าในฐานะศูนย์กลางในภูมิภาค เป็นประโยชน์ต่อการค้า การท่องเที่ยว และความร่วมมือข้ามเขตแดน

การออกแบบผังเมืองได้มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและการพัฒนาที่ยั่งยืน ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของโครงการพัฒนาที่ดินใหม่ของมาเก๊าเกิดขึ้นในเขตความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือข้ามเขตแดนและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าว กลยุทธ์การพัฒนาที่ดินนี้ควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนโดยรวมของมาเก๊าและการบูรณาการภายในเขต GBA ด้วยเหตุนี้จึงช่วยส่งเสริมให้มาเก๊ายังคงเติบโตต่อไปในทิศทางที่สมดุลและมีความยั่งยืน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาคลิก:

https://news.cgtn.com/news/2024-12-10/Tide-rising-A-new-height-in-Macao-s-economic-diversification-1zdAA4dTila/p.html

Log masuk atau cipta satu akaun percuma selamanya untuk membaca berita ini

Lebih berita dari Reuters

Lebih berita